Archive for the ‘Stock Trade’ Category

Jan 03

การลงทุนในตลาดหุ้นในบ้านเรานั้นปัจจุบันเป็นที่นิยม และมีผู้สนใจเข้าลงทุนในตลาดหุ้นเป็นจำนวนมาก โดยแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ นักลงทุนรายย่อย สถาบันการเงินในประเทศ และสถาบันการเงินต่างประเทศ ในส่วนของสถาบันการเงินนั้นจะลงทุนโดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลพอร์ตการลงทุนอยู่แล้ว แต่สำหรับรายย่อยนั้นจะต้องดูแลและบริหารพอร์ตการลงทุน และมีจำนวนไม่น้อยที่ลงทุนแล้วประสบปัญหาขาดทุน แล้วจะทำอย่างไรเพื่อดโอกาสขาดทุน และทำให้พอร์ตมีกำไร

การทำให้พอร์ตมีกำไรมีอยู่หลายวิธี ซึ่งแต่ละคนก็อาจจะเหมาะกับวิธีหรือรูปแบบที่ไม่เหมือนกัน เพราะข้อจำกัดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน นิสัยและวินัยการจัดการพอร์ตลงทุนก็ไม่เหมือนกัน ดังจะเห็นว่าใช้วิธีการเดียวกัน ลงเงินทุนเท่ากันแต่ผลกำไรขาดทุนส่วนมากไม่เท่ากัน ในเพราะระหว่างทางกว่าจะถึงเวลาขาย แต่ละคนก็จะตัดสินใจบริหารพอร์ตต่างกัน เช่น ซื้อเพิ่ม ทะยอยขายออก หรือ เมื่อถึงจุดขายก็มันเป็นการขายในราคาที่แตกต่างกัน

1. การลงทุนแบบรับปันผลมาใช้จ่าย เป็นการเลือกหุ้นพื้นฐานดี ปันผลดีสม่ำเสมอ กิจการมั่นคง เป็นการลงทุนแบบซื้อแล้วรอกินปันผลอย่างเดียว เป้าหมายคือมีปันผลให้ใช้จ่ายสม่ำเสมอ ไม่กระทบเงินต้น ไม่สนใจเรื่องราคาหุ้นขึ้นหรือลงตราบใดที่ปันผลส่ำเสมอก็ถือว่าประสปความสำเร็จในการลงทุนแบบรับปันผล การลงทุนแบบนี้โอกาสขาดทุนยาก เว้นแต่เลือกหุ้นไม่ดี ไม่มั่นคงจริง ปันผลไม่สม่ำเสมอ หรือกิจการขาดทุนจนไม่มีอนาคต แต่ถ้าเลือกหุ้นดีวิธีนี้จะปลอดภัยมาก หุ้นปันผลสูงมักไม่ค่อยเติบโต เพราะผลกำไรของกิจการถูกนำมาปันผลมาก จนไม่เหลือเอาไว้ขยายกิจการ

1640823637077

จะดีไหม หากมีหุ้นที่ซื้อแล้วให้ผลตอบแทนเป็นปันผลสม่ำเสมอ 5% – 8% ต่อปี มากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากเห็น ๆ มันมีหุ้นแบบนี้จริง ๆ

2. การลงทุนแบบ VI เป็นวิธีเลือกหุ้นดี กิจการมีอนาคต แต่นักลงทุนในตลาดยังให้ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง นักลงทุนแบบ VI จะเข้าเก็บหุ้นในจังหวะที่หุ้นมีส่วนลด หรือราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง มีสมมติฐานว่าหุ้นจะกลับไปสู่ราคาที่แท้จริงเสมอ และตัดสินใจขายเมื่อหุ้นมีพื้นฐานเปลี่ยนแปลงไปจนไม่เหมาะกับการลงทุนแบบ VI หรือ ราคาไม่สมเหตุสมผล นักลงทุนจะพิจารณาขายหุ้นออกไป

2640823637077

VI หุ้นที่นักลงทุนยังให้ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ในที่สุดราคาหุ้นจะกลับไปยังราคาที่แท้จริงเสมอ

3. การลงทุนแบบ DCA (Dollar Cost Averaging) เป็นวิธีการลงทุนโดยซื้อหุ้นจำนวนเท่าๆ กัน ไปเรื่อยๆ โดยไม่สนใจราคา วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่ไม่มีเวลาติดตามหุ้น ตัดปัญหาเรื่องความกังวลว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง ดังนั้นจึงใช้วิธีซื้อถัวไปเรื่อยๆ ในระยะเวลาที่กำหนด เช่น ทุกเดือนสัปดาห์ หรือทุกเดือน ต่อไปเรื่อยๆ เป็นวิธีสะสมหุ้นอย่างหนึ่ง ที่นักลงทุนไม่ต้องปวดหัวเรื่องจังหวะการเข้าซื้อหุ้น เพราะจะซื้อโดยไม่สนใจราคา เน้นลงทุนสะสมหุ้นให้ได้เท่าๆ กัน ในทุกๆ ช่วงเวลา อย่างไรก็ตามวิธีนี้หากซื้อหุ้นที่เป็นขาลงนานๆ อาจทำให้พอร์ตนักลงทุนแดงนานๆ และเสียกำลังใจและโอกาสได้ บางครั้งพบว่าผลตอบแทนอาจจะดีหรือไม่ดีไม่แน่นอนเสมอไป การเลือกหุ้นที่ดีจึงสำคัญมาก ๆ ดังนั้น ควรซื้อหุ้นที่ให้มีผลตอบแทนดี เมื่อซื้อในระยะยาว เช่น หุ้นมีอนาคตดี ราคาในอนาคตมีแนวโน้มเติบโต หรือ มีปันผลดี เป็นต้น การลงทุนแบบ DCA นั้นมีความเสี่ยงเรื่องผลตอบแทนที่ต่ำหากเลือกหุ้นหรือบริหารพอร์ตไม่ดี เราอาจลงทุนแบบ DCA ผ่านกองทุนให้กองทุนเป็นผู้จัดการพอร์ตให้โดยลงทุนในกองทุนในจำนวนที่เท่าๆ กันทุกเดือนๆ ที่เหลือกองทุนจะเป็นเป็นผู้ลงทุนและจัดการพอร์ตกองทุนโดยมืออาชีพ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

4. การลงทุนแบบเกร็งกำไร เป็นการลงทุนที่พบได้มาก มีการซื้อขายบ่อยครั้ง เมื่อนักลงทุนเห็นโอกาสทำกำไรก็จะเข้าซื้อ และขายออกมาเมื่อได้กำไร โดยไม่สนใจปัจจัยพื้นฐาน การลงทุนในลักษณะนี้ต้องมีการติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด และเข้าออกให้ทันจังหวะ เพื่อให้ได้กำไร อย่างไรก็ตามวิธีนี้อาจจะได้ผลตอบแทนบ่อยครั้ง แต่ก็มีความเสียงที่จะขาดทุนได้มากเช่นเดียวกัน ดังนั้นแต่ละคนจึงควรมีกลยุทธ์เพื่อป้องกันการขาดทุน และสามารถทำกำไรได้

การเทรดแบบเก็งกำไรนั้นทำได้หลายวิธีจะขอยกตัวอย่างวิธีการ ดังนี้

4.1 การเทรดโดยการตั้งจุดทำกำไร (Take Profit) และจุดตัดขาดทุน (Stop Loss) หากถึงเป้าหมายจุดทำกำไรก็ขายเอากำไรออกมา หรือหากพลาดหุ้นไม่เป็นดังคาด ก็ขายตัดขาดทุนที่จุด Stop loss เพื่อจำกัดความเสียหาย เช่น ซื้อหุ้นราคา 100 บาท หากราคาไปถึง 130 ก็ขายทำกำไร หรือ หากหุ้นลง 90 บาท ก็ขายทำกำไร วิธีนี้เราต้องมั่นใจว่าหุ้นจะขึ้น หากถูกทางจะกำไร 30% หากผิดทางจะขาดทุน 10% ซึ่งเราควรมีความชำนาญในการคาดการทิศทางหุ้น แล้วควรเข้าให้ถูกมากกว่าผิด เช่น เข้าซื้อหุ้นด้วยวิธีนี้ 5 ครั้ง ผิดพลาด 2 ครั้ง ถูก 3 ครั้ง ก็ยังถือว่าเราได้กำไรอยู่ หากเข้าผิดมากกว่าถูกก็ควรพิจารณาวิธีการเข้าซื้อหุ้นว่าต้องแก้ไขปรับปรุงอย่างไร

เช่น A ซื้อหุ้น 5 ครั้ง ดังนี้
ซื้อหุ้นราคา 100 บาท หุ้นไปถึง 130 บาทก็ขาย ทำกำไร 30 บาท
ซื้อหุ้นราคา 100 บาท หุ้นไปถึง 90 บาทก็ขาย ตัดขาดทุน 10 บาท
ซื้อหุ้นราคา 100 บาท หุ้นไปถึง 130 บาทก็ขาย ทำกำไร 30 บาท
ซื้อหุ้นราคา 100 บาท หุ้นไปถึง 90 บาทก็ขาย ตัดขาดทุน 10 บาท
ซื้อหุ้นราคา 100 บาท หุ้นไปถึง 130 บาทก็ขาย ทำกำไร 30 บาท

หากซื้อขาย 5 ครั้ง ตามข้อมูลด้านบน นาย A จะมีกำไร 70 บาท (คิดคร่าวๆ เฉพาะราคาหุ้น ไม่รวมค่าธรรมเนียม+vat)

4.2 ตั้งจุดทำกำไร (Take Profit) และจุดตัดขาดทุน (Stop Loss)  แบบปรับปรุง การเทรดตามข้อ 4.1 อาจพบว่าการขายทำกำไรเมื่อถึงจุดทำกำไรตามเป้าหมาย จะทำให้เกิดข้อจำกัดในการทำกำไร ทำให้เสียโอกาสไม่สามารถทำกำไรได้ยาวๆ ทั้งที่บางครั้งหุ้นยังไปได้อีกไกล ดังนั้นจึงอาจมีการขยับเป้าหมาย และจุดขาดทุนขึ้นใหม่ได้ โดยยังไม่ต้องตั้งขายในจุดทำกำไร แต่ให้ถือว่าจุดนั้นเป็นราคาทุนใหม่ และตั้งเป้าหมายใหม่ทำกำไร และตั้งจุด Stop loss ใหม่ หากหุ้นเปลี่ยนทิศไปถึงจุด Stop Loss ก่อนก็ขายทำกำไรออกมา แต่หากไปถึงเป้าหมายใหม่ ก็ขยับเป้าหมายและสร้างจุด Stop Loss ขึ้นไปอีก วิธีนี้จะทำให้ลดการขายหมู หรือขายแล้วหุ้นวิ่งต่อจนเราต้องนึกเสียดาย หรือต้องกลับมาซื้อซ้ำอีกนั่นเอง วิธีนี้ช่วย Let Profit Run หรือ ช่วยให้ทนรวยได้ดีขึ้น เช่น

นาย A ซื้อหุ้น ดังนี้

วันที่ 1 เข้าซื้อหุ้น ราคา 100 บาท โดยตั้งจุดทำกำไร 130 บาท (เป้าหมายกำไร 30%) จุดตัดขาดทุน 90 บาท (ขาดทุนไม่เกิน 10 %)
วันที่ 2 หุ้นขึ้นไปที่ ราคา 140 บาท ซึ่งเลยจุดทำกำไรที่ตั้งไว้แล้ว แต่เพื่อแก้ปัญหาการขายหมู จึงใช้วิธีตั้งจุดทำกำไรและจุดตัดขาดทุนใหม่ โดยให้คิดว่าราคาตลาด ณ สิ้นวัน 140 บาท เป็นราคาราคาฐาน(ใหม่) จุดทำกำไรใหม่ (+30 %) คือ 140 + (140 x 0.30) = 182 และจุดตัดขาดทุนใหม่ (-10 %) คือ 140 – (140 x 0.10) = 126 บาท
วันที่ 3 หุ้นลงมาที่ ราคา 120 บาท เลยจุดตัดขาดทุนแล้วจึงขายทำกำไร
สรุปผล ซื้อหุ้นในราคา 100 บาท และขายไปที่ราคา 120 บาท ได้กำไร 20 บาท ต่อหุ้น

ปล.
1. นอกจากการกำหนดจุดทำกำไรและจุดตัดขาดทุนโดยใช้ % แล้ว นักลงทุนยังอาจใช้เส้นแนวโน้ม กรอบต่างๆ มาช่วยก็ได้ ซึ่งแต่ละคนก็อาจจะมีความถนัด หรือจุดที่กำหนดไม่เหมือนกัน
2. การเข้าซื้อหุ้นหากซื้อหรือเข้าในจุดที่ได้เปรียบจะทำให้โอกาสในการทำกำไรได้ง่าย และค่อนข้างปลอดภัย

  • Share/Bookmark
Jan 01

P/E หรือ PE เป็นตัวเลข ราคา หารด้วย กำไรสุทธิต่อหุ้น จะทำให้ทราบว่าหุ้นที่เราหมายตานั้นถูกหรือแพง โดยมีตัวเลขที่สำคัญ 2 ตัว คือ ราคาตลาด และ กำไรต่อหุ้นของกิจการที่ผ่านมา ตัวเลขนี้จะทำให้เราทราบคร่าว ๆ ว่าเมื่อซื้อหุ้นนั้นๆ แล้ว จะสามารถคือทุนได้ภายในกี่ปี ยิ่งตัวเลขสูงก็ยิ่งจะต้องใช้เวลานานในการลงทุนเพื่อให้ได้ทุนคืน

P/E = Price / Earning Per Share

ค่า P/E สูง ๆ นั้น จะเกิดได้จากราคาหุ้นขึ้นไปสูง หรือ กำไรต่อหุ้นน้อย เมื่อตัวหารน้อยจะทำให้ค่า P/E สูงขึ้น อย่างไรก็ตามตัวหาร หรือกำไรต่อหุ้นนั้นเป็นข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งหากกิจการที่ดีมีอนาคตค่า P/E ก็จะเปลี่ยนแปลงไป โดยเมื่อตัวหารมีค่ามาก ค่านี้ก็จะลดต่ำลงนั่นเอง ดังนั้นเมื่อเห็น P/E สูง จึงไม่ใช่คำตอบทั้งหมดว่าราคาหุ้นที่ซื้อขณะนั้นจะแพงเสมอไป ต้องมองไปถึงผลกำไรต่อหุ้นที่จะมาเป็นตัวในอนาคตด้วย

P/BV = Price / Book Value เป็นอัตราส่วนของราคาตลาด หารด้วยมูลค่าทางบัญชี ซึ่งตัวเลขปกติคือ 1 ยิ่งค่าน้อยยิ่งดีนั่นคือราคาน้อยกว่าหรือใกล้เคียงกับมูลค่าทางบัญชี แต่หากตัวเลขมากๆ จะทำให้ราคาที่ซื้อขายในขณะนั้นสูงกว่ามูลค่าทางบัญชี ยิ่งสูงมากก็ยิ่งแพง แต่อย่างไรก็ตามค่านี้จะไม่แม่นยำ สำหรับกิจการที่มีสินทรัพย์ถสวรน้อย หรือ มีสินทรัพย์ที่แปลงเป็นมูลค่าทางการตลาดได้ยาก เช่น ความน่าเชื่อถือ ตรา ยี่ห้อ เป็นต้น

Dividend Yield อัตราผลตอบแทนเงินปันผล หากค่านี้สูงแสดงว่ากิจการมีการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นมาก อย่างไรก็ตามกิจการที่มุ่งเน้นแต่เอาผลกำไรมาจ่ายเงินปันผล จนไม่เหลือเงินทุนสำหรับการต่อยอดขยายกิจการเพิ่มเติม ก็จะมองว่ากิจการนั้นอาจจะมีการเติบโตต่ำ ผลกำไรในอนาคตอาจลดลงได้ ดังนั้นจึงต้องดูนโยบายการจ่ายเงินปันผลด้วยว่าใช้เงินกี่ % เพื่อเอามาจ่ายเงินปันผล และมีการนำผลกำไรไปต่อยอด ขยายกิจการเพื่อให้เกิดผลกำไรเพิ่มในอนาคตหรือไม่

Turn Over Ratio ตัวเลขแสดงการซื้อขายหุ้นว่ามีค่าเป็นกี่ % เมื่อเทียบกับหุ้นจดทะเบียนของกิจการนั้น ๆ หากมีค่ามากก็หมายถึงสภาพคล่องในการซื้อขายมาก ซื้อง่าย ขายคล่อง แต่หากมีค่าน้อยการซื้อขายก็จะทำได้ช้ากว่า เพราะสภาพคล่องต่ำกว่านั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง
การลงทุน Trade หุ้น Online ตอนที่ 1

การลงทุน Trade หุ้น Online ตอนที่ 2

การลงทุน Trade หุ้น Online ตอนที่ 3

การลงทุน Trade หุ้น Online ตอนที่ 4

  • Share/Bookmark
Jan 01

วันนี้จะมาว่าด้วยเรื่องงบการเงินในส่วนของ “มูลค่าหุ้นที่เรียกชำระแล้ว” จะเห็นว่ามีทั้งแบบคงที่ทุกๆ ปี หรือ บางกิจการก็มีการเปลี่ยนแปลง แล้วตัวเลขนี้สำคัญอย่างไร มูลค่าหุ้นที่เรียกชำระแล้วเป็นตัวเลขที่บอกให้ทราบว่ามีการชำระค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นแล้วเป็นจำนวนเท่าใด หากมีค่าคงที่ตลอดทุกๆ ปีก็จะบอกได้ว่ากิจการนั้นไม่ได้มีเพิ่ม/ลดทุน ซึ่งการเพิ่มทุนจะทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผลประโยชน์ของผู้หุ้นที่ถืออยู่เดิมลดลง เนื่องจากหุ้นจำนวนที่มากขึ้นจะทำให้มีการแบ่งผลประโยชน์ของกิจการออกไปมากขึ้นตามจำนวนหุ้นนั่นเอง (Dilution Effect) นอกจากนี้ยังส่งผลให้กำไรต่อหุ้น (EPS) ลดลง เนื่องจากกำไรเท่าเดิม แต่จำนวนหุ้น เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามหากมูลค่าหุ้นที่ชำระแล้วลดลงก็หมายถึงบริษัทมีการซื้อหุ้นคืนและลดจำนวนหุ้นในตลาดลงซึ่งจะเป็นเป็นผลดี เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการเพิ่มทุน

จะประกอบไปด้วยมูลค่าหุ้นที่เรียกชำระแล้วรวมกับกำไรสะสม ดังสมการ

ส่วนของผู้ถือหุ้น = มูลค่าหุ้นที่เรียกชำระแล้ว + กำไรสะสม

จะเห็นว่าส่วนของผู้ถือหุ้นนั้นส่วนหนึ่งมาจากเงินของผู้ถือหุ้น และอีกส่วนมาจากผลกำไร ซึ่งจะให้ดีกิจการควรได้เงินมาจากกำไร แต่อย่างไรก็ตามมูลค่าหุ้นที่เรียกชำระแล้ว กิจการอาจจะมียอดเพิ่มขึ้นได้ โดยการออกหุ้นเพิ่มทุนซึ่งทำให้มีการเติมเงินจากนักลงทุนผ่านหุ้นเพิ่มทุนที่ออกนั้น กิจการที่ดีนั้นไม่ควรเพิ่มทุนบ่อย ๆ แต่ควรหาเงินโดยการเพิ่มในส่วนของกำไรมากกว่า

1640823624018

บทความที่เกี่ยวข้อง
การลงทุน Trade หุ้น Online ตอนที่ 1

การลงทุน Trade หุ้น Online ตอนที่ 2

การลงทุน Trade หุ้น Online ตอนที่ 3

การลงทุน Trade หุ้น Online ตอนที่ 4

  • Share/Bookmark
Dec 30

การเลือกลงทุนในกิจการใดๆ สักกิจการนั้น เราจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลฐานะความมั่นคง มั่งคั่งของกิจการนั้นๆ ก่อนเสมอ กิจการที่ฐานะทางการเงินไม่ดี มีหนี้เยอะ ทำกำไรไม่ค่อยได้นั้นควรที่จะหลีกเลี่ยง ซึ่งแหล่งข้อมูลที่เราสามารถเข้าถึงได้ทั้งหมดนั้น จะถูกบันทึกไว้ในงบการเงินของบริษัทและเผยแพร่ให้นักลงทุนศึกษาข้อมูลไว้ในเว็บ settrade.com เรียบร้อยแล้ว

1640823624018

โดยส่วนแรกที่อยากให้ทำความรู้จัก คือส่วนที่เรียกว่างบดุล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลย 3 บรรทัดแรก คือ สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม และส่วนของผู้ถือหุ้น โดยตัวเลขทั้ง 3 ส่วนจะมีความสัมพันธ์กันตามสมการ

สินทรัพย์รวม = หนี้สินรวม + ส่วนของผู้ถือหุ้น

สินทรัพย์รวม =ทรัพย์สินทั้งหมดของกิจการ เช่น โรงงาน เครื่องจักร โต๊ะเก้าอี้ รถยนต์ อาคารสำนักงาน ฯลฯ บวกด้วยหนี้สินรวม

หนี้สินรวม = หนี้สินทั้งหมดของกิจการ ซึ่งไม่ควรมีมากเกินไป หากมีต้องมีความสามารถในการชำระหนี้ได้ดี

ส่วนของผู้ถือหุ้น = ส่วนของเจ้าของ หรือ สินทรัพย์สุทธิ เป็นมูลค่าหรือส่วนที่สินทรัพย์จริงๆ หลังหักหนี้สินออกแล้ว

หนี้สินรวมและส่วนของผู้ถือหุ้น เมื่อเทียบสัดส่วนกันแล้ว หนี้สินรวมไม่ควรจะมีจำนวนมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้นมากจนเกินไป ยิ่งหนี้มากก็หมายถึงกิจการที่มีภาระต้องเอาผลประกอบการที่ได้ไปชำระหนี้และดอกเบี้ยมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้จะต้องจะดูความสามารถในการทำกำไรของกิจการด้วย หากยังมีกำไรดีก็สามารถชำระหนี้ได้ไม่มีปัญหา แต่หากเป็นไปในทางตรงกันข้าม กิจการนั้นๆ อาจประสปปัญหาขาดทุน แถมมีหนี้ที่เป็นภาระมากอีก ก็จะส่งผลถึงการดำเนินกิจการทำให้งดจ่ายปันผล หรือราคาหุ้นในตลาดไม่ขยับไปไหน หรืออาจถูกเทขายทิ้งได้ในภายหลัง กิจการที่หนี้เยอะส่วนมากจะมีปัญหามากในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งหลายกิจการอาจต้องปิดตัวไปเลยก็มี

บทความที่เกี่ยวข้อง
การลงทุน Trade หุ้น Online ตอนที่ 1

การลงทุน Trade หุ้น Online ตอนที่ 2

การลงทุน Trade หุ้น Online ตอนที่ 3

การลงทุน Trade หุ้น Online ตอนที่ 4

  • Share/Bookmark
Dec 30

การลงทุนเทรดหุ้นนั้น นับว่าเป็นการหารายได้ออนไลน์ที่มีโอกาสรวยได้มหาศาล และในขณะเดียวกันก็มีโอกาสขาดทุนได้มากเช่นกัน ซึ่งเรามักจะได้ยินคำกล่าวอยู่เสมอว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนควรศึกษาข้อมูล ก่อนตัดสินใจลงทุน” จริงๆ แล้วการลงทุนในหุ้นจะมีโอกาสขาดทุนน้อยมาก หากเราศึกษาข้อมูลดีพอ และลงทุนอย่างเหมาะสม ส่วนมากจะพบว่าเมื่อเข้าตลาดไปหุ้นแล้ว มักจะกลายเป็นนักเกร็งกำไรระยะสั้นเนื่องจากตลาดมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของราคาหุ้นตลอดเวลา ทำให้เรามีความรู้สึกคล้อยตาม หรือมีอารมณ์ร่วมกับตลาดเสมอ และตัดสินใจซื้อขายบ่อยครั้ง จนเกิดความเสียหายได้ ในมุมมองของผู้เขียนนั้นเห็นว่าการลงทุนในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี นั้น ไม่ว่าจะเป็นเวลา 1-3 วัน หรือ เวลา 1-2 เดือน หรือ 1-12 เดือน ก็ถือว่าเป็นการเกร็งกำไรแทบทั้งสิ้น ซึ่งส่วนมากจะพบว่าเมื่อราคาหุ้นหรือหลักทรัพย์ มากกว่าราคาทุนก็มักจะขายทำกำไร แล้วหาซื้อหุ้นตัวใหม่ ทำให้เมื่อได้กำไรมักจะได้น้อยเพราะรอบจะค่อนข้างเล็ก ไม่มีเวลาให้หุ้นเจิญเติบโต แต่เมื่อขาดทุนมักจะปล่อยให้ราคาลงและตัดใจขายยาก เนื่องจากความเสียดายเงินที่หายไป และกว่าจะตัดสินใจขายได้ ก็เสียหายหนักไปแล้ว ส่วนนี้คือปัญหาและข้อเสียของคนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้น แต่ก็มีคนจำนวนหนึ่งเช่นกันที่ทำกำไรได้ในการเทรดหุ้นระยะสั้นๆ ซึ่งจะไม่ขอกล่าวถึง เพราะผู้เขียนไม่ประสปความสำเร็จในการเทรดหุ้นระยะสั้น จึงจะขอแนะนำแนวทางการลงทุนในอีกรูปแบบที่เชื่อว่าจะสามารถชนะตลาดได้ หรือ อย่างน้อยก็มีความปลอดภัยสูง มีกำไรในตลาดมากกว่าขาดทุน

การลงทุนจริงๆ ในตลาดหุ้นที่จะแนะนำคือการลงทุนระยะยาว (1 ปีขึ้นไป) ซึ่งจะทำให้หุ้นมีโอกาสไปถึงเป้าหมายที่เราวางไว้ได้มากกว่าการให้เวลาหุ้นทำงานแบบจำกัดเวลาแค่ไม่ถึงปี การลงทุนที่อยากจะแนะนำ คือ การลงทุนที่เรียกว่าการลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investment) หรือ แนว VI ซึ่งจะมี Model หรือบุคคลต้นแบบที่คนไทยรู้จัดกันดี คือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ และ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ซึ่งเป็นบุคคลที่ประสปความสำเร็จในการลงทุนในรูปแบบนี้ และได้เขียนตำราออกมาหลายเล่ม เป็นแนวทางให้นักลงทุนอื่นๆ ได้ ใช้ดำเนินงานตาม

การลงทุนในรูปแบบ VI จะเน้นที่มูลค่าที่แท้จริง หรือควรจะเป็นของธุรกิจ เมื่อเห็นว่าราคาที่แท้จริงของหุ้นนั้นๆ ตำกว่าความเป็นจริง หรือความสามารถของกิจการ นักลงทุนก็จะเข้าไปซื้อหุ้นนั้นไว้ โดยเชื่อว่าราคาหุ้นจะต้องกลับมายังราคาที่แท้จริงในที่สุด และนักลงทุนจะต้องมองว่าการลงทุนคือการเข้าไปซื้อกิจการ เป็นเจ้าของกิจการไม่ใช่สนใจที่ราคาหุ้นในตลาด ดังนั้นจะต้องเลือกหุ้นที่มีพื้นฐานดี ซึ่งจะต้องดูข้อมูล P/E , Book Value , EPS , งบดุล และ ฯลฯ ซึ่งก็คือการเชคสุขภาพของกิจการนั่นเอง กิจการที่ขาดทุน ไม่มีอนาคตเราควรหลีกเลี่ยง (แต่หากยังเข้าไปเสี่ยงนั้นจะไม่เรียกว่านักลงทุน จะเรียกนักเกร็งกำไรแทน ซึ่งบ่อยครั้งราคาหุ้นวิ่งไปแบบไร้เหตุผล แต่เมื่อราคาวิ่งขึ้นน้อยคนนักจะอดใจไหวไม่แห่ตามหุ้นตัวนั้น)

การลงทุนแบบ VI เราต้องตรวจสุขภาพของกิจการก่อนการลงทุนเสมอผ่านหน้ารายงานงบการเงินของบริษัทที่จะปรากฏอยู่ที่เว็บ www.settrade.com ดังตัวอย่าง

16408236240181640823637077

ซึ่งเราจะมาพูดถึงค่าตัวเลขที่น่าสนใจต่อไปในโพสหน้า

บทความที่เกี่ยวข้อง
การลงทุน Trade หุ้น Online ตอนที่ 1

การลงทุน Trade หุ้น Online ตอนที่ 2

การลงทุน Trade หุ้น Online ตอนที่ 3

การลงทุน Trade หุ้น Online ตอนที่ 4

  • Share/Bookmark